วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน




                                                 



                                                  " ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน"

      พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

          ๑. สวากขาตธรรม เป้นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่มีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

          ๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

          ๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

          ๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

                    นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

          อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

          อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มีผู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักมายากล




                                        มีผู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักมายากล

ปัญหา นายบ้านนามว่าปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า มีคนบางพวกกล่าวหาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักมายากลดังนี้ เป็นความจริงหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนนายคามณี ชนเหล่าใดเหล่า...ว่าพระสมณโคดมทรงรู้จักมายากล ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวแล้วด้วยคำที่เรากล่าว ย่อมไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง...”
คามณี “ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นความจริงซิ สหายเอ๋ย แม้เราจะไม่เชื่อคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า พระสมณโคดมทรงรู้มายากล พระสมณโคดมทรงเป็นนักมายากลจริง ๆ”
พระพุทธเจ้า “ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพูดอย่างนี้ว่าเราย่อมรู้จักมายากล ผู้นั้นย่อมมุ่งหมายกล่าวว่าเราเป็นนักมายากล ดังนี้หรือ ?”
คามณี “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นแล พระผู้มีพระภาค....”
พระพุทธเจ้า “ ถ้าอย่างนั้นเราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไรพึงตอบอย่างนั้น... ท่านย่อมรู้จักลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกลิยะหรือ ?”
คามณี “ข้าพระองค์ ย่อมรู้จักพระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า “ลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกลิยะเหล่านั้น มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร?”
คามณี “เพื่อป้องกันพวกโจรแก่ชาวโกลิยะ และเพื่อส่งข้าวสาส์นของชาวโกลิยะ.... พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า “นายคามณี ท่านรู้จักลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวในนิคมของชาวโกลิ ในฐานะเป็นผู้มีศีลหรือเป็นผู้ทุศีล?”
คามณี “....เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า “ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพึงพูดอย่างนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะรู้จักพวกลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกลิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แม้นาบ้านปาฏลิยะก็เป็นคนทุศีลมีธรรมเลวทราม ดังนี้ผู้นั้นเมื่อพูดอยู่เช่นนั้นชื่อว่าพูดชอบหรือหนอ ?”
คามณี “หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า พวกลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโลกิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นพวกหนึ่ง....”
พระพุทธเจ้า “ดูก่อนนายคามณี ท่านแลยังได้เพื่อที่จะกล่าววว่า นายคามณีปาฏลิยะย่อมรู้จักลูกจ้าง.... ผู้มีศีลชั่ว ผู้มีธรรมอันเป็นบาป แต่นายคามณีปาฏลิยะหาได้เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเป็นบาปไม่ ไฉนตถาคตจึงไม่ได้เพื่อที่จะกล่าวว่า พระตถาคตทรงรู้จักมายากล แต่พระตถาคตหาได้เป็นนักมายากลไม่ ดังนี้เล่า?”

ปาฏลิยสูตร สฬา. สํ. (๖๔๙-๖๕๐)
ตบ. ๑๘ : ๔๑๘-๔๒๐ ตท. ๑๘ : ๓๗๐-๓๗๒
ตอ. K.S. ๔ : ๒๔๕-๒๔๖

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำไมพระพุทธเจ้าถึงปรินิพาน


                                                ทำไมพระพุทธเจ้าถึงปรินิพาน







(คัดลอกเป็นบางส่วนจาก “ธัมมวิโมกข์” ปีที่ 27 ฉบับที่ 297 ธันวาคม 2548 ในหน้า 43 ถึง 47)

สำหรับวันนี้ ก็จะขอเทศน์เป็นการตัดอายุ....

เนื้อความก็มีอยู่ว่า
เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ ในวันนั้น องค์สมเด็จพระบรมครู ไปทรงกล่าวกับบรรดาท่านพุทธบริษัทว่า....

“ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพเพ สัตตา มริสสันติ มรณันตัง หิ ชีวิตัง คนเราเกิดมาเท่าไร ตายหมดเท่านั้น”

หมายความว่า คนทุกคน และสัตว์ทุกประเภท ที่เกิดมาแล้ว มันก็ต้องตาย
และต่อมาภายหลังจากนั้นไซร้ เมื่ออายุ 80 ปี องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จดับขันธ์ คือ ตาย

ในตอนนี้ไซร้ ก็ปรากฏว่า มีอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย พยายามรวบรวมคำสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เทศน์ไว้ อยากจะทราบว่า เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เคยเทศน์ไว้ว่า....
คนที่มีการคล่องใน อิทธิบาท 4 คือ....

ฉันทะ ความพอใจ
วิริยะ ความเพียร
จิตตะ การจดจ่อ การเพียรในกิจการงานที่ทำ
วิมังสา การใคร่ครวญการงานที่ทำเสมอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคล่องในอิทธิบาท 4 ในด้านของการปฏิบัติธรรม
ผู้ที่คล่องจริง ๆ ในอันดับต้น ได้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ว่าที่คล่องรองลงมาก็คือบรรดา พระอรหันต์ทั้งหลาย
ก็ท่านทั้งสองประเภทนี้ คือพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี
ถ้ามีอิทธิบาทไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะบรรลุ คือ ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน
ไม่ได้
แต่ว่า ทำไมองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ทรงเคยกล่าวไว้ว่า
ผู้ที่เคยคล่องใน อิทธิบาท 4 ประเภทนี้ สามารถจะอธิษฐานตน ให้อยู่ได้ถึงกัปหนึ่ง
หรือกัลป์หนึ่ง ก็ได้

และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กลับมา นิพพาน
เมื่อระหว่างอายุของพระองค์ได้ 80 ปี

ตอนนี้ พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็มีความสงสัย
แต่ทว่าบรรดาพระอรหันต์ตั้งแต่ปฏิสัมภิทาญาณ ก็ดี ได้อภิญญาหก ก็ดี วิชชาสาม ก็ดี
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ไม่สงสัย รู้ด้วยอำนาจของ อตีตังสญาณ

แต่ทว่า สำหรับพระอรหันต์ขั้นสุกขวิปัสสโก นี้ ต้องสงสัย เพราะว่า ไม่ได้ญานวิเศษ
จึงต้องค้นคว้าคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์

ในที่สุดก็พบว่า สมเด็จพระนราสภ คือ....
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แทนที่จะมีอายุ 1 กัป อย่างที่กล่าวไว้
แต่ทว่าการที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา ต้องมีอายุ 80 ปี

เหตุผล ก็เป็นมาอย่างนี้ ตามที่องค์สมเด็จพระชินศรี ทรงกล่าวว่า....
อตีเต กาเล ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย....

ในอดีตกาล ตถาคตเสวยพระชาติเป็นหน่อพระบรมโพธิสัตว์
บำเพ็ญบารมีเพื่อจะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถอยหลังจากชาตินี้กลับไปหลายพันชาติ เวลานั้นสมเด็จพระบรมโลกนาถ
ทรงบำเพ็ญบารมี ใกล้จะถึง ปรมัตถบารมี

พระวรกายของพระองค์นี้ มีส่วนพิเศษอยู่จุดหนึ่ง คือ....
เท้าทั้งสอง ในอุ้งระหว่างกลางเท้าทั้งสองนี่ มีรูปกงจักรอยู่ด้วย เป็นสีแดง

ในเวลานั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดเป็นลูกคนจน ทำมาหากินอยู่ในป่า
ต่อมาท่านบิดาก็ตาย เหลือแต่มารดาผู้เดียว ท่านก็ปฏิบัติตน เป็นคนประกอบไปด้วย

ความกตัญญูรู้คุณ หาเช้ากินค่ำ หรือหาค่ำกินเช้า นำเอาอาหารมาเลี้ยงมารดาเป็นที่รัก
คือว่าท่านเป็นคนป่า ก็ตัดฟืนขาย เข้าป่าก็แต่เช้า กลับมาจนบ่าย จนเย็น อาบน้ำ อาบท่า กินน้ำ บริโภคอาหาร
เสร็จแล้ว ก็นำฟืนเอาไปขาย ได้เงินมาเท่าไร ก็มามอบให้แก่มารดา
มารดาก็จัดเงินทั้งหลายเหล่านี้ จัดอาหารมาเลี้ยงดูกัน

เป็นอันว่า รายได้ขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา เวลานั้น
ก็เต็มไปด้วยการฝืดเคืองมาก

ในคราวนั้น พระราชามีความลำบาก
ด้วยยักษ์ตนหนึ่ง ที่เขาเรียกว่า “รากษส” นี่มีสภาพเหมือนยักษ์
แต่เป็นยักษ์ที่อยู่ในโพรง และอุโมงค์ใต้ดิน น่ากลัวจะเป็นยักษ์ปลาไหล
เพราะอยู่ในโพรง และใต้ดินมันมีบ่ออยู่

แต่ทว่าทางขึ้น ก็ทำเป็นปล่องขึ้น การขุดอุโมงค์อยู่ใต้ดิน

เจ้า รากษส ตัวนี้ ปรากฏว่า ถึงเวลาฤดูหนึ่ง ถ้าเปรียบเทียบกับเวลา ตรุษสงกรานต์
เป็นงานเกี่ยวกับนักขัตฤกษ์ประจำปี เจ้า รากษส ตัวนี้ ก็ขึ้นมาจับคนเอาไปกินเป็นอาหาร

ทำอย่างนี้ เป็นเวลา 2 – 3 ปี ในแดนไกล
ต่อมา พระราชาทรงทราบจากบรรดาประชาชนทั้งหลาย ว่า....

เจ้า รากษส ขึ้นมาอาละวาด เจ้า รากษส ตัวนี้ขึ้นมาเป็นเวลากาล
ถ้าถึงฤดูนั้น ถึงเดือนนั้น วันนั้น มันก็ขึ้นมาจับคนกินเป็นอาหาร เพื่อเป็นเสบียงกรัง
ทำอย่างนี้ เป็นเวลา 2 – 3 ปี

จนเป็นที่แน่ใจของประชาชนทั้งหลายว่า วันนี้แหละเจ้า รากษส จะขึ้นมาจับคนไปกิน
จึงไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ

พระราชา ก็ให้ป่าวประกาศหาคนดีมีฝีมือ ให้ไปสู้กับ เจ้า รากษส
ไปดักอยู่ปากปล่องของ รากษส ที่จะขึ้นมา ถ้า รากษส ขึ้นมา ก็จะฆ่า รากษส ให้ตาย

แต่ว่าบรรดาผู้ฟังทั้งหลาย รากษส มีสภาพเป็นยักษ์ มีความดุร้าย มีกำลังมาก
แทนที่คนทั้งหลายที่รับอาสาพระราชา จะไปฆ่า รากษส
ก็กลายเป็นอาหารของ รากษส อย่างดี

คือ รากษส ไม่ต้องไปหากินไกล จับคนทั้งหลายที่จะไปฆ่าเขา
นำกลับไปกินเป็นอาหาร

ต่อมาพระราชา เห็นว่า คนทั้งหลายไม่สามารถสู้ รากษส ได้
การประกาศให้บรรดาคนที่มีฝีมือทั้งหลาย ภายในขอบเขตของพระราชฐาน
หรือใกล้พระราชฐาน ก็ไม่มีใครรับอาสาไปปราบ รากษส

พระราชาได้ประชุมอำมาตย์ ข้าราชบริพารว่า....
เราไม่สามารถปราบ รากษส นี้ ได้เพียงใด ความเป็นพระราชาของเราก็ไม่อาจจะคงอยู่
เพราะเราไม่สามารถจะให้ความปลอดภัยกับบรรดาประชาชนได้

แล้วอาศัยที่พระราชาพระองค์นี้ ใช้ ทศพิธราชธรรม อันดี เป็นที่รักของปวงชนทั้งหลาย

บรรดาอำมาตย์ ข้าราชบริพารจึงประชุมกันว่า ถ้าหากพวกเราไม่สามารถฆ่า รากษส ได้
พระราชาก็จะสละราชสมบัติ แล้วคนที่มาใหม่ จะดีเท่าองค์นี้ หรือไม่ดี ก็ยังไม่แน่นัก
จึงปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรดี จะให้พระราชาครองราชย์ต่อไป

ในที่ประชุม ก็กล่าวกันว่า ทางที่ดีควรประกาศให้บรรดาประชาชนทั้งหลายทั่วประเทศ
ที่มีความสามารถ

เข้าใจตรงกันว่า พระราชามีบุญญาธิการอย่างนี้ และมีความเดือดร้อนอย่างนี้
ราษฎรจนที่ไหน พระองค์ก็ทรงจนด้วย
ราษฎรลำบากที่ไหน พระองค์ก็ทรงลำบากด้วย
หาทางช่วยราษฎรให้เป็นสุข พระราชาอย่างนี้ หาได้ยาก

ถ้ากระไรก็ดี ก็ควรกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ว่า....
คนในประเทศของเรา ไม่มีเท่าที่เห็น เพราะอยู่ในแดนไกล ในขอบเขตต่าง ๆ มีมากมาย
ควรจะประกาศให้บรรดาประชาชนทั้งหลายที่มีความสามารถ
แต่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระราชา ที่จะรับอาสาฆ่า รากษส
ในที่สุดเขาก็กราบทูลให้พระราชาทรงทราบ แล้วก็ทำตามนั้น

มอบทองคำ เท่าลูกฟัก สำหรับผู้รับอาสา

ต่อมา พระราช ก็ส่งคนไปประกาศว่า ถ้าบุคคลใดสามารถจะฆ่า รากษส ให้ตายได้
ในช่วงแห่งการรับอาสาจะมอบทองคำเท่าลูกฟัก หนักเท่าตัวบุคคลผู้รับอาสา
ให้เป็นทุนสำรองไว้ก่อน ทั้งนี้ ก็เผื่อว่า ไปพลาดพลั้งถูก รากษส ฆ่าตาย
ทางบ้านก็จะได้ใช้ทองคำนี้ จับจ่ายใช้สอย เป็นการประทังชีวิตให้มีความสุขสบายแทนผู้ตาย

ถ้าบุคคลใดฆ่า รากษส ตาย แล้วตัวเองก็ไม่ตาย ทองคำก็ได้เป็นสิทธิ์อยู่แล้ว

แต่เมื่อเวลาที่กลับมาประเทศเขตพระนคร พระราชาจะให้เป็นมหาอุปราช
คือไปมีตำแหน่งรองจากพระราชา

วันนั้น ก็ปรากฏว่า หน่อพระบรมโพธิสัตว์ จะเข้าป่าไปหาฟืน แต่ยังไม่ทันจะเข้า เดินออกจากบ้าน
ก็ได้ยินเสียงประกาศจจจากอำมาตย์ ข้าราชบริพารว่า ถ้าบุคคลผู้ใดรับอาสาฆ่า รากษส ได้
พระราชาจะประทานทองคำเท่าลูกฟัก หนักเท่าตัวคนผู้อาสา เป็นเดิมพัน
แต่ถ้าฆ่า รากษส ไม่ได้ ต้องตายไป ทองคำนี้ก็จะเลี้ยงครอบครัว
และถ้าฆ่าได้ ก็จะแถมรางวัลพิเศษ คือ ให้เป็นมหาอุปราช

หน่อพระบรมโพธิสัตว์ จึงคิดว่า เราเป็นลูกคนเดียวของแม่คนเดียว หาเช้ากินค่ำ
ทรัพย์สมบัติที่หามาได้ ก็พอกินบ้าง ไม่พอกินบ้าง มีความลำบาก

ถ้าหากว่าเราจะยอมเสี่ยงชีวิตของเรา ตายแต่เพียงผู้เดียว
ให้แม่ได้มีโอกาสรับทองคำเท่าลูกฟัก หนักเท่าตัวเรา แม่ก็จะกินอยู่แบบสบาย ๆ
แม้กระทั่งตาย ทองคำก็ยังไม่หมด

เมื่อหน่อพระบรมโพธิสัตว์ กำหนดอย่างนี้แล้ว จึงได้ขันรับอาสา
แล้วก็รับทองคำมามอบให้แก่แม่
ตอนนี้ แม่คัดค้านอย่างหนัก ไม่อยากจะให้ลูกตาย

ในที่สุด ก็ต้องจำยอม เพราะตกลงกับเขาแล้ว จึงได้มอบทองคำให้แม่
ตัวเองก็ไปเฝ้าพระราชาพร้อมกับอำมาตย์
เข้าไปเฝ้าแล้ว....
พระราชาถามถึงผลของความต้องการ เธอสามารถแน่ใจที่จะฆ่า รากษส ได้หรือ
พระโพธิสัตว์ก็บอกว่า มั่นใจ ต่อไปพระราชา ถามว่า เจ้าต้องการทหารเท่าไร
ต้องการอาวุธอะไรบ้าง จะไปฆ่า รากษส

หน่อพระบรมโพธิสัตว์ ก็ตอบว่า “ไม่ต้องการอะไรอะไรทั้งหมด ต้องการฆ่า ด้วยมือเปล่า”

พระราชาก็หนักใจ แต่ว่า เขาขันรับอาสาตามนั้น ก็ต้องปล่อยไป
เขาก็นำไปส่งที่ปล่องของ รากษส

หน่อพระบรมโพธิสัตว์ ขึ้นไปคอยอยู่ประมาณ 2 วัน พระราชาทรงให้ทหารไปเป็นเพื่อน
นำอาหารไปบริโภค ไปคอยอยู่ที่ปากปล่องที่ รากษส จะขึ้น
ต่อมา เมื่อถึงวันนั้น คือวันกำหนดที่ รากษส จะขึ้นมา มีเวลาเป็นประจำ ก็ขึ้นมาพอดี

พอ รากษส ขึ้นมา ไม่ทันจะพ้นปล่อง หัวขึ้นมาพ้นปล่อง
หน่อพระบรมโพธิสัตว์ ยกเท้าขึ้นหวังจะกระทืบ คือจะกระทืบให้ รากษส คอหักตาย

รากษส แหงนหน้าขึ้นมา เห็นอุ้งเท้าของหน่อพระจอมไตรบรมโพธิสัตว์ มีกงจักร
ในระหว่างท่ามกลางฝ่าเท้า ก็คิดว่า คราวนี้เราตายแน่ เราสู้ไม่ได้
เพราะคนนี้ต้องเป็นหน่อพระบรมโพธิสัตว์ เพราะกลางระหว่างเท้า มีกงจักรสีแดง

จึงได้พูดว่า....
ช้าก่อน ท่านอย่าพึ่งฆ่าเรา ท่านนี่เป็นหน่อพระบรมโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าในอีกไม่นานนัก เพราะว่ากลางเท้าของท่านมีกงจักร
หากท่านฆ่าเรา เราก็ตาย ถ้าท่านฆ่าเราไซร้ ท่านจะมีอายุสั้น
ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตามธรรมดาพระพุทธเจ้า จะต้องมีอายุ สองหมื่นปีบ้าง
ถึงสี่หมื่นบ้างก็มี

อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าสามารถจะอธิษฐานตนให้มีอายุถึงกัปหนึ่ง ก็ได้

หากว่า ท่านฆ่าเราตาย ในเวลานี้ เวลานี้เรามีอายุ 80 ปี
ถ้าหากว่าท่านฆ่าเราตายในเวลานี้

เมื่อท่านเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ต้องมีอายุ 80 ปี เท่านั้น

การประกาศพระศาสนาของท่าน จะไม่มีผลตามความประสงค์

หน่อพระบรมโพธิสัตว์ ก็กล่าวว่า....

“เจ้าเป็นสัตว์ที่มีความดุร้ายมาก ไล่พิฆาต เข่นฆ่าคนเป็นอาหาร ถึงแม้นว่าเราจะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า มีอายุแค่ 80 ปี เราพร้อม ยอมตามนั้น”

ในที่สุด หน่อพระบรมโพธิสัตว์ ก็กระทืบศรีษะยักษ์ รากษส ยักษ์ก็คอหักตาย

................................................................................

นี่แหละบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่า พระพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า สามารถจะอธิษฐานอายุของตนให้อยู่ได้ถึงกัปหนึ่ง ก็ย่อมเป็นได้ เพราะคล่องใน อิทธิบาท 4

แต่ว่า ที่องค์สมเด็จพระมหามุนีบรมศาสดา จะต้องนิพพาน ภายในอายุ 80 ปี
ตามพระบาลี ท่านกล่าวว่า เหตุของการฆ่า รากษส ตนนั้น

จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ต้องนิพพานในอายุยังสั้น

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้

อาตมภาพในฐานะพรสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ทั้ง 3 ประการ

ขอจงดลบันดาลให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน มีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุแล้ว
ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว จงเห็นธรรมนั้น ในชาติปัจจุบันนี้ เทอญ.

เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอน 38 (อาทิตย์ 12 ก.ค.) ช่วง 2

                         พระพุทธเจ้าทรงสอนพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร                              เเละเหล่าสาวก





วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

12ขั้นตอนในการตามรู้ซึ่งสัจธรรม


                                 12ขั้นตอนในการตามรู้ซึ่งสัจธรรม


                                     

ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด ทางมีองค์แปด
เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
นี่แหละทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทาง อื่นมิได้มี.


เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ;
เธอทั้งหลาย เดิน ตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร;
ความเพียรเป็น กิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก(วิธีแห่งการกระทำ).
ผู้ มุ่งปฏิบัติแล้วย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.


เมื่อใด บุคคลเหห็นด้วยปัญญาว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง";
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ :
นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด. เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า
"สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์":
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา";
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ :
นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.


ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล ภิกษุ ท.!
เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตต ผล ด้วยการ กระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว.
ภิกษุ ท.! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจใน อรหัตตผล
ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะ การปฏิบัติโดยลำดับ.


ภิกษุ ท.! ก็การประสพความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมี ได้เพราะการศึกษา โดยลำดับ
เพระการกระทำโดยลำดับเพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติ โดยลำดับ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?


ภิกษุ ท.! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ : เป็นผู้มี สัทธา เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เข้าไปหา(สัปบุรุษ) ;
เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ; เมื่อเข้าๆไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ ;
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ; ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้,
ย่อม ใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้ ;
เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,
ธรรมทั้งหลายย่อมทน ต่อการเพ่งพิสูจน์;
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ(ความพอใจ)ย่อมเกิด;
ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ;
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);
ครั้นใช้ดุลยพินิจ(พบ)แล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรม นั้น;
ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย

-ม. ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติวันออกพรรษา

                                                               วันออกพรรษา
                                    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

ประวัติความเป็นมา

         วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา ๑ วัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนมักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ ๓ เดือน และถัดจากออกพรรษา ๑ เดือน ถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง ๓ เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ "วันออกพรรษา" ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด ๓ เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖




        ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลาสำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี เมื่อทำพิธี วันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือไปไหนไม่ต้องบอกลา ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้ และมีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก ๔ เดือน


ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา

๑. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา


     

หลังวันออกพรรษา ๑ วัน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

๒. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน ๑ เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี

งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐ โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณี วันออกพรรษา ในแต่ละภาค

วันออกพรรษา ภาคกลาง

จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

แต่สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น ๒ วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล

ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี ๒ กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ

กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา


๑.ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

๒.ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา

๓.ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

๕.ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

๖.งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

ที่มาข้อมูลจาก

http://hilight.kapook.com/

http://www.dhammathai.org/

พระพุทธเจ้าไปโปรดผกาพรหม


                                                   พระพุทธเจ้าไปสอนผกาพรหม



สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐา ทรงตรวจดูด้วยสัพพัญญุตาญาณ ก็เห็นว่าท้าวพกาพรหมมีมิจฉาทิฎฐิ หลงเชื่อว่า พรหมโลกนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา และพระพรหมนี้ไม่ต้องเกิด ไม่แก่ ไม่จาย ไม่จุติ ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ การได้เกิดเป็นพรหมนี้พ้นทุกข์
เหตุที่ท้าวพกาพรหมมีมิจฉาทิฏฐินี้ ก็เนื่องจากสมัยท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้บวชเป็นพระดาบส ประกอบกุศลกรรมและรักษาฌาณสมาบัติ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจึงมาอุบัติในพรหมโลก
เมื่อแรกมาอุบัติในพรหมโลกนั้น ท้าวพกาพรหมอุบัติในพรหมโลกชั้นที่10คือ เวหัปผลาพรหมภูมิ มีอายุ500กัป เมื่อจุติจากเวหัปผลาพรหมภูมิก็ไปอุบัติยังพรหมโลกชั้นที่9คือสุภกิณหาพรหมภูมิ มีอายุได้64กัป เมื่อจุติจากสุกิณหาพรหมภูมิ ก็อุบัติยังพรหมโลกชั้นที่6คือชั้นอาภัสราพรหมมีอายุอีก8กัป
รวมแล้ว ท้าวพกาพรหมอุบัติเป็นพรหมมาแล้วมากกว่า500กัปด้วยเวลาอันยาวนานมากจนไม่อาจจดจำ อดีตของตนว่าได้กระทำกรรมอะไรจึงได้เป็นพรหม แล้วหลงเข้าใจอีกว่าตนนั้นมีมาอยู่ก่อนสิ่งใด พรหมนี้เที่ยง ไม่มีเกิด แก่ ดับ สุขอื่นยิ่งกว่าพรหมอีกไม่มี
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของท้าวพกาพรหมแล้ว พระองค์จึงหายไปจากโคนต้นรังใหญ่ เสด็จถึงพรหมโลกเพียงครู่เดียว เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกแล้วคู้แขนเข้าฉะนั้น
ท้าวพกาพรหมเห็นพระโลกเชษฐ์เสด็จมา ก็กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
"ดูกร ท่านผู้มิรทุกข์ เชิญท่านมาสู่พรหมโลกนี้เถิด พรหมโลกนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมโลกนี้ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่จาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ สุขอื่นกว่าพรหมโลกนี้ไม่มีอีกแล้ว"
พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบว่า
"ดูกร พรหมผู้เจริญ ท่านกล่าวว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง กล่าวว่าสิ่งที่ไม่ยั่งยืนว่ายั่งยืน กล่าวว่าสิ่งที่ไม่มั่นคงว่ามั่นคง กล่าวว่าสิ่งที่ไม่แข็งแรงว่าแข็งแรง กล่าวว่าสิ่งที่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาว่ามีความไม่เคลื่อน พรหมโลกนี้มีทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งตาย ทั้งจุติ ทั้งอุบัติอยู่เป็นปกติ แต่ท่านกลับกล่าวว่าพรหมโลกนี้ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ดูกร ท่านผู้เจริญท่านกำลังหลงในอวิชชาแล้วหนอ"ท้าวพกาพรหมกล่าวแย้งว่า"ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี72คน ล้วนได้ทำบุญมาดีแล้ว มีอำนาจเหนือคนเหล่าอื่น ก้าวล่วงพ้นจากความเกิดและความแก่ การเกิดเป็นพรหมนี้ชื่อว่าถึงพระเวทแล้ว ข้าแต่พระโคดม การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย ความสุขยิ่งกว่าพรหมนี้ไม่มีอีกแล้ว"ครั้งนั้น มารก็เข้าสิงกายของพรหมบริวารผู้หนึ่ง กล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า"ดูกรสมณะ ท่านอย่ารุกรานท้าวพกาพรหมนี้เลย พกาพรหมผู้นี้เป็นมหาพรหม เป็นพรหมผู้เป็นใหญ่ปกครองพรหมโลก เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสัตว์ เป็นบิดาของสรรพสิ่งทั้งหลายดูกรสมณะ สมณะและพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ติเตียนดินเกลียดดิน เป็นผู้ติเตียนน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม เป็นผู้ติเตียนสัตว์เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียนพรหม เกลียดพรหม ว่าพรหมนี้ไม่เที่ยง สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อกายแตกดับไปแล้ว ล้วนต้องไปเกิดในอบายดูกรสมณะ สมณะและพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้สรรเสริญดินชมเชยดิน เป็นผู้สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟ ชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม เกลียดลม เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญเทวดา ชมเชยเทวดา เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม ว่าพรหมนี้เที่ยง สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อกายแตกดับไปแล้วก็ได้ไปอุบัติในพรหมโลกดูกรสมณะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงทำตามคำที่พกาพรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านอย่าฝ่าฝืนคำของพกาพรหมเลย"พระชินสีห์ทรงทราบว่ามารเข้าสิงสู่ในพรหมผู้นั้น จึงมีพุทธดำรัสตอบโต้มารว่า"นี่แน่ะมาร ท่านอย่าเข้าใจว่าเราไม่รู้จักท่าน เรานี้รู้จักท่าน และไม่อยู่ในอำนาจของท่านดังเช่นพรหมที่ท่านครอบงำอยู่"มารฟังคำของพระทศพลแล้วจึงหนีไปส่วนท้าวพกาพรหมนั้น ได้เจรจาอวดอ้างมหิทฤทธานุภาพของตนว่าเหนือกว่าผู้ใด ตนนั้นเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่งและไม่มีสิ่งใดในสากลจักรวาลซ่อนเร้นทิพยจักษุของเราได้ มีดำริคิดต่อกรท้าทายพระพุทธเจ้าว่า จะหายตัวไปไม่ให้พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นได้ พระพุทธองค์ทรงรับคำท้าแล้ว พกาพรหมก็หายตัวไปเพียงครู่เดียวครั้งแรกท้าวพกาพรหมจำแลงตนเป็นนก เพียงครู่เดียวพระพุทธเจ้าก็มีพุทธดำรัสว่า พกาพรหมท่านต้องการเป็นนกหรือครั้งที่สองก็จำแลงตนเป็นผึ้ง เพียงครู่เดียวพระพุทธเจ้าก็มีพุทธดำรัสว่า พกาพรหมท่านต้องการเป็นผึ้งหรือถึงได้เที่ยวตอมดมดอกไม้อยู่ครั้งสุดท้ายพกาพรหมได้จำแลงตนให้ละเอียดลงถึงขั้นกลายเป็นเม็ดสอดแทรกในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ถึงกระนั้นเพียงครู่เดียวก็มีพระพุทธดำรัสว่า พกาพรหมท่านไม่ต้องการเสวยสุขบนสวรรค์แล้วหรือจึงได้ไปแฝงตัวซ่อนเร้นอยู่ในเม็ดทรายในมหาสมุทรพกาพรหมนั้น ยังไม่ละทิฎฐิ ท้าทายให้พระพุทธองค์ทรงายตัวบ้าง พระทศพลญาณก็หายตัวไปทันใด พกาพรหมนั้นก็ได้เข้าฌาณส่องทิพยจักษุญาณไปยังโลกธาตุต่างๆ เข้าไปยังนิคม ในบ้าน ในราชฐาน ในภูเขา ในแผ่นดินฝากโน้น แผ่นดินฝากนี้ ในแอ่งน้ำ แม่น้ำ ในมหาสมุทร ในโลกมนุษย์ ครั้นไม่พบก็ ส่องทิพยจักษุญาณไปยังโลกธาตุอื่น ในอบายภูมิ ในเทวโลกทั้ง6ชั้น ส่องไปในพรหมโลกทั้งหลาย ตลอดจนโลกธาตุและธาตุอันละเอียด ก็หาพระจอมไตรไม่พบ จึงยอมพ่ายแพ้ กล่าวขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าปรากฎตัวออกมาทันใดนั้น พระโลกนาถก็ตรัสขึ้นว่า "พกาพรหม ตลอดเวลาที่ท่านหาเราอยู่นั้น เราเดินจงกรมอยู่เหนือเศียรของท่าน"และพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงพระสัทธรรมด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงกุศลธรรมของท้าวพกาพรหมว่า"ดูก่อนท่านผู้เจริญ เรานี้รู้อดีตของท่าน ก่อนนี้ในกัปหนึ่ง ท่านเกิดเป็นดาบสอยู่ในทะเลทรายที่กันดาร ได้เนรมิตน้ำให้พ่อค้าเกวียน500เล่มที่หลงทาง นี้เป็นกุศลของท่าน ก่อนนี้ท่านเป็นดาบสอาศัยอยู่ชายป่า มีโจรลงมาจากเขา มาปล้นชาวบ้านแล้วจับเอาคนจำนวนมากขึ้นไปบนเขา ท่านแปลงกายเป็นพระราชพร้อมกองทหาร ขับไล่โจรไป แล้วช่วยชีวิตชาวบ้านเอาไว้ นี่เป็นกุศลของท่านก่อนนี้ท่านเป็นดาบสอยู่ริมฝั่งน้ำ ชาวเรือทิ้งเศษอาหารลงไปในน้ำทำให้พระยานาคโกรธ ขึ้นมาจะทำลายเรือ ท่านแปลงเป็นครุฑขับไล่ พระยานาคไป นี้เป็นกุศลของท่านดูก่อนพรหมผู้เจริญ เรารู้บุญกรรมของท่านดุจนอนหลับแล้วตื่นขึ้น"พระพุทธเจ้าทรงแสดงความไม่เที่ยงต่อไปว่าดูก่อนพกาพรหม ความจริงอายุของท่านไม่มากเลย ท่านอย่าสำคัญว่าอายุของท่านมาก อายุของท่านเหลือเพียงหนึ่งแสนนิรพุทเท่านั้น"ในที่สุดท้าวพกาพรหมจึงยอมจำนน เมื่อนั้น เหล่าพรหมทั้งหลายกล่าว่า องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชนะท้าวพกาพรหมแล้วการพ่ายแพ้ของท้าวพกาพรหมครั้งนี้ดุจหิงห้อยที่ด้อยแสงคิดขันแข่งพระสุริยันย่อมย่อยยับอัปราเป็นแน่แท้เมื่อจบการเทศนาญาณแล้ว พรหมทั้งหลายจำนวนหนึ่งหมื่นองค์ก็บรรลุธรรม มีโสดาปัตติผลเป็นต้น